细说泰语方言的区别 2
๑. ความแตกต่างในเรื่องลักษณะการออกเสียงแต่ละเสียง
เสียงพูดในภาษา นักภาษาได้แบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียงสูงต่ำ (ซึ่งหมายถึง เสียงวรรณยุกต์ และทำนองเสียง) การลงเสียงหนักเบา (stressed และ unstressed sound) ภาษาถิ่นอาจจะแตกต่างกันในเรื่องการออกเสียงดังกล่าวนี้ได้
ตัวอย่างความแตกต่างในเรื่องการออกเสียงพยัญชนะต้นคำ
เสียงเดียวกันในภาษาถิ่นต่าง ๆ ของไทยอาจจะมีลักษณะการออกเสียงต่างกันได้ เช่น เสียง อ - ในคำว่า อาบ ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะต้น ในภาษากรุงเทพฯ เวลาออกเสียงนี้ลมจะออกทางปาก แต่ในภาษาทางเหนือและปักษ์ใต้ ลมจะออกทั้งทางปากและทางจมูก คือ เป็นเสียงนาสิกด้วย
เสียง ช หรือ ฉ ในคำว่า ช้าง ฉิ่ง ในภาษากรุงเทพฯ อาจจะเป็นพยัญชนะกึ่ง-เสียดแทรก หรือพยัญชนะระเบิด ก็ได้ คือ เวลาออกเสียงนี้ จะต้องกักลมไว้ตรงฐานที่เกิดคือระหว่างปุ่มเหงือกกับเพดานแข็งเสียก่อน ถ้าเป็นเสียงพยัญชนะ
ระเบิดก็จะปล่อยให้ลมระเบิดออกมาทันที แต่ถ้าเป็นเสียงพยัญชนะกึ่ง-เสียดแทรกก็จะต้องค่อย ๆ ปล่อยลมช้า ๆ บีบลมให้ผ่านช่องแคบออกมาเป็นเสียงเสียดแทรก ส่วนในภาษาสงขลา เสียงนี้จะเป็นเสียงเสียดแทรก คือ จะไม่มีการกักลมเลย ลมจะผ่านออกมาได้ตลอดเวลา แต่ตรงที่เกิดของเสียงจะเป็นช่องแคบทำให้ลมที่ผ่านออกมาเป็นเสียงเสียดแทรก
编辑推荐:
温馨提示:因考试政策、内容不断变化与调整,长理培训网站提供的以上信息仅供参考,如有异议,请考生以权威部门公布的内容为准! (责任编辑:长理培训)
点击加载更多评论>>