电话:0731-83595998
导航

细说泰语方言的区别 3

来源: 2017-07-04 09:48

 ตัวอย่างความแตกต่างในเรื่องการออกเสียงพยัญชนะท้ายคำ

เสียงพยัญชนะท้ายซึ่งเป็นเสียงกัก ในคำตาย ซึ่งลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะในแม่กก กด กบ และที่ลงท้ายด้วยเสียงสระสั้น เช่น ในคำว่า อบ ตัด ปัก แตะ (ในทางสัทศาสตร์ถือว่าลงท้ายด้วยเสียง -p, -t, -k และ -7 ตามลำดับ) ในภาษากรุงเทพฯ เมื่อออกเสียงเหล่านี้จะกัดลมไว้ตรงฐานที่เกิดของเสียงแต่ละเสียงแล้วไม่มีการปล่อยลมออกมาเลย แต่ในภาษาสงขลาเมื่อกักลมตรงที่เกิดของเสียงแล้วจะปล่อยให้ลมระเบิดออกทางจมูก

ตัวอย่างความแตกต่างในเรื่องการออกเสียงวรรณยุกต์

เรื่องลักษณะการออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาถิ่นต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดว่า อาจจะแตกต่างกันได้มากคือ เมื่อเทียบเสียงที่มีลักษณะเป็นเสียงประเภทเดียวกัน เช่น เสียงประเภทระดับสูงด้วยกัน เสียงประเภทระดับกลางด้วยกัน หรือเสียงประเภทระดับต่ำด้วยกัน ในภาษาต่างถิ่นกันก็จะเห็นว่า ถ้าเทียบเสียงสูงด้วยกันก็อาจจะสูงไม่เท่ากัน ถ้าเทียบเสียงต่ำด้วยกันก็อาจจะต่ำไม่เท่ากันก็ได้ หรือถ้าเทียบเสียงกลางด้วยกันก็อาจจะเป็นเสียงกลางคนละระดับก็ได้ เช่น เสียงตรีในภาษากรุงเทพฯ ในคำว่า น้า ซึ่งในทางสัทศาสตร์ ถือว่า เป็นเสียงระดับสูง เมื่อเทียบกับเสียงสูงเสียงหนึ่งของสงขลาในคำว่า หนา ก็พอจะสังเกตได้ว่าในสงขลาเป็นเสียงที่สูงกว่า หรือเมื่อเทียบเสียงระดับต่ำในกรุงเทพฯ ในคำว่า ข่า (เสียงเอก) กับเสียงระดับต่ำในสงขลาในคำว่า ค่า ก็จะเห็นว่าในกรุงเทพฯ เป็นเสียงที่ต่ำกว่า เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงวรรณยุกต์ในภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่พูดกันอยู่ในเมืองไทยนั้น เสียงวรรณยุกต์ในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเดียวกันจะคล้ายคลึงกันมาก เช่น ภาษาถิ่นปักใต้ด้วยกัน หรือภาคอีสานด้วยกัน หรือภาคเหนือด้วยกัน เป็นต้น แต่ถ้าเป็นภาษาถิ่นคนละภาคก็จะแตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด๑

编辑推荐:

下载Word文档

温馨提示:因考试政策、内容不断变化与调整,长理培训网站提供的以上信息仅供参考,如有异议,请考生以权威部门公布的内容为准! (责任编辑:长理培训)

网络课程 新人注册送三重礼

已有 22658 名学员学习以下课程通过考试

网友评论(共0条评论)

请自觉遵守互联网相关政策法规,评论内容只代表网友观点!

最新评论

点击加载更多评论>>

精品课程

更多
10781人学习

免费试听更多

相关推荐
图书更多+
  • 电网书籍
  • 财会书籍
  • 其它工学书籍
拼团课程更多+
  • 电气拼团课程
  • 财会拼团课程
  • 其它工学拼团
热门排行

长理培训客户端 资讯,试题,视频一手掌握

去 App Store 免费下载 iOS 客户端